เราสังเกตเห็นว่าคุณกําลังเยี่ยมชมเว็บไซต์ของสหราชอาณาจักร คุณต้องการเยี่ยมชมเว็บไซต์หลักของเราแทนหรือไม่?

คำถามพบบ่อยของ SATA และ M.2 โซลิดสเตทไดรฟ์

ครบทุกคำตอบเกี่ยวกับไดร์ฟ SSD

ไดร์ฟ SSD จาก Kingston สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องสำหรับใช้งานทั่วไปหรือเครื่องระดับองค์กรได้ไม่แพ้กัน Kingston SSD มีจำหน่ายหลายรุ่นหลายความจุ ช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับ PC ของคุณ รวมทั้งในด้านความเร็ว ประสิทธิภาพและเสถียรภาพในการทำงานเมื่อเทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบเก่า

ไดร์ฟรับประกันสอง สามหรืห้าปี พร้อมบริการทางเทคนิคฟรีภายใต้แบรนด์ Kingston® ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ไดร์ฟ SSD จาก Kingston ช่วยปกป้องข้อมูลของคุณและยังรองรับการทำงานในอนาคตได้อย่างอุ่นใจเต็มที่

หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับไดร์ฟ SSD จาก Kingston อ่านเนื้อหาชุดนี้ต่อไปเพื่อสืบค้นข้อมูลที่คุณต้องการ หากข้อสงสัยของคุณไม่มีกล่าวถึง กรุณาเข้าไปที่หน้าผลิตภัณฑ์ด้านล่างหรือติดต่อเจ้าหน้าที่ให้บริการของ Kingston

คำถามที่พบบ่อย

SSD 101

SSD ย่อมาจาก solid-state drive SSD ผลิตขึ้นโดยใช้ชิปหน่วยความจำแฟลชแบบ NAND หรือ DRAM แทนจานแม่เหล็กและระบบกลไกอื่น ๆ ที่พบในฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD)

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

เป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เนื่องจากการทำงานของเครื่องแต่ละเครื่องจะไม่เหมือนกันเนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น OS และไดร์เวอร์ แอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน ความเร็วและการกำหนดค่าโปรเซสเซอร์ รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย เว็บไซต์ทดสอบและนิตยสารหลายฉบับได้ทำการทดสอบ SSD เทียบกับ HDD และพบว่า SSD ทำงานได้เร็วกว่ามาก เช่น หากเปรียบเทียบการอ่านข้อมูลแบบสุ่ม SSD จะทำงานได้เร็วกว่า HDD ประสิทธิภาพสูงถึง 20000%

SSD ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพเหมือนกับฮาร์ดไดร์ฟ แผ่นจาน HDD มีการออกแบบเป็นรูปทรงกลม (เช่นเดียวกับแผ่น CD) และการเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ตรงกลางวงกลมจะทำได้ช้ากว่าข้อมูลที่อยู่บริเวณขอบด้านนอก ในขณะที่ SSD มีเวลาในการสืบค้นข้อมูลที่เท่ากันทั่วทั้งไดรฟ์ นอกจากนี้ ประสิทธิภาพของ HDD ยังได้รับผลกระทบจากการกระจายของข้อมูล ในขณะที่ประสิทธิภาพของ SSD ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แม้ว่าข้อมูลจะไม่ได้ถูกจัดเก็บไว้ใกล้กันก็ตาม

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

IOPS (Input/Output Operations per Second) คือหน่วยวัดจำนวนการทำรายการต่อวินาทีสำหรับอุปกรณ์บันทึกข้อมูล (HDD หรือ SSD) ทั้งนี้ IOPS ไม่ใช่ความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูล โดยเป็นข้อบ่งชี้ภาระการทำงานของเซิร์ฟเวอร์

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ไดร์ฟ SSD ใช้หน่วยความจำแฟลช NAND เป็นสื่อจัดเก็บข้อมูล ข้อเสียอย่างหนึ่งของแฟลชแบบ NAND คือ เซลล์ของแฟลชจะเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ เพื่อยืดอายุการใช้งานของหน่วยความจำ ส่วนควบคุมหน่วยความจำของ SSD จึงใช้อัลกอริทึมที่หลากหลายในการกระจายการจัดเก็บข้อมูลทั่วทั้งเซลล์หน่วยความจำทั้งหมด ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เซลล์หรือกลุ่มเซลล์ใด ๆ "ถูกใช้งานมากเกินไป" เทคโนโลยีการกระจายการสึกหรอมีความครอบคลุมและให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่น่าพอใจ

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความทนทาน ผู้ผลิต SSD บางรายจึงสงวนความจุบางส่วนของ SSD ไว้จากส่วนการใช้งานเพื่อให้ระบบควบคุมใช้งานโดยเฉพาะ แนวทางนี้เรียกว่าการจัดสรรพื้นที่ส่วนเกิน (OP) ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพและอายุการใช้งานให้กับ SSD SSD ทุกรุ่นในปัจจุบันจาก Kingston มีระบบจัดสรรพื้นที่ส่วนเกิน และมีจำหน่ายที่ความจุ 120GB, 240GB, 480GB, 960GB, 1.92TB และ 3.84TB ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดสรรพื้นที่ส่วนเกินได้ที่

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

แฟลช NAND ที่ใช้กับการ์ด USB, SD และ SSD มีอายุการใช้งาน ทำให้ไม่สามารถรองรับการเขียนข้อมูลได้ตลอดไป ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนประกอบแฟลชจะเสื่อมสภาพในที่สุด แต่คุณสมบัติในการกระจายการสึกหรอและการจัดสรรพื้นที่ส่วนเกินจะทำให้ SSD มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ไดร์ฟมีการติดตั้งเพื่อใช้งาน เราได้ทำการประเมินความทนทานของไดร์ฟเป็นหน่วย TBW ต่อเทราไบต์ข้อมูลที่เขียนลงไป และตามความจุไดร์ฟ โดยอาจสามารถรองรับการเขียนข้อมูลได้นับร้อย ๆ กลุ่มเทราไบต์หรือสูงในระดับเพทาไบท์ ประสิทธิภาพของ SSD จะเท่าเดิมตลอดอายุการใช้งานของไดร์ฟ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TBW ได้ที่

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ย่อมาจาก Self-Monitoring, Analysis, and Reporting Technology ซึ่งเป็นมาตรฐาน ATA SMART ใช้เพื่อตรวจวัด "ความสมบูรณ์" ของไดร์ฟ ซึ่งมีขึ้นเพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้ (ผู้ดูแลระบบ โปรแกรมซอฟต์แวร์ ฯลฯ) เกี่ยวกับปัญหาของไดร์ฟที่อาจเกิดขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ S.M.A.R.T. ได้ที่

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ได้ สามารถใช้ Kingston SSD กับเคสต่อพ่วง USB, e-SATA, Thunderbolt และ Firewire หากผู้ใช้เลือกใช้รหัสผ่านด้วยคำสั่ง ATA Security ไดร์ฟจะไม่สามารถใช้งานได้ผ่านเคสต่อพ่วง

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

SSD vs HDD

HDD ทำงานโดยอาศัยจานหมุนแม่เหล็ก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 ข้อมูลจะถูกเขียนและอ่านผ่านจานหมุนหรือดิสก์เหล่านี้ผ่านหัวอ่านเคลื่อนที่ เนื่องจาก HDD เป็นอุปกรณ์กลไกที่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่มากมาย จึงมีโอกาสสูงที่กลไกจะเสียและเกิดการขัดข้องเนื่องจากสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิเย็นหรือร้อนจัด การกระแทก และการสั่นสะเทือน

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

แม้ว่าตลาด SSD จะเติบโตอย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ๆ มักต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อผลักดันยอดขายจนถึงระดับที่ต้นทุนการผลิตจะลดลงมากเพียงพอ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ช่องว่างราคาระหว่าง SSD และ HDD ก็ถือว่าลดลงมาก

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ข้อดีอย่างเดียวของ HDD คือราคาต่อกิกะไบต์ ปัจจุบัน HDD มีจำหน่ายที่ความจุ 500GB ขึ้นไป ในขณะที่ SSD มีจำหน่ายที่ความจุ 120GB ขึ้นไป ปัจจุบัน Kingston จำหน่าย SSD ขนาด 120GB - 3.84TB

HDD แบบเก่าเหมาะสำหรับการจัดเก็บข้อมูลเป็นหลักเทราไบต์ ในขณะที่ SSD เหมาะสำหรับผู้ที่คาดหวังประสิทธิภาพในการทำงานเป็นสำคัญ หลายคนเลือกใช้ SSD เป็นไดร์ฟบู๊ตเพื่อจัดเก็บข้อมูลระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ และใช้ HDD เพื่อเก็บไฟล์ข้อมูล

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

• ได้ Kingston จัดจำหน่ายไดร์ฟ SSD เป็นชุดอัพเกรดที่ประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่จำเป็นในการใช้แทนที่ HDD ของโน้ตบุ๊กหรือเดสก์ทอป SSD จาก Kingston จัดมาให้พร้อมกับซอฟต์แวร์สำหรับโอนข้อมูล OS และข้อมูลที่สำคัญ ทั้งนี้ SKU ที่จำกัดเฉพาะ SSD อย่างเดียวจะไม่มีซอฟต์แวร์จัดมาให้พร้อมกัน หากต้องการโคลน HDD ของคุณไปยัง SSD ตัวใหม่ คุณจะต้องซื้อผลิตภัณฑ์เป็นชุด

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ไม่ SSD ไม่จำเป็นต้องมีการจัดเรียงข้อมูล การจัดเรียงข้อมูลใน SSD จะเป็นการลดอายุการใช้งานของ SSD หากระบบของคุณมีการตั้งค่าให้จัดเรียงข้อมูลโดยอัตโนมัติ คุณควรปิดใช้งานหรือปิดการจัดเรียงข้อมูลเมื่อใช้ SSD ระบบปฏิบัติการบางรุ่นจะจัดเรียงข้อมูลอัตโนมัติ จึงควรปิดคุณสมบัตินี้หากใช้ SSD จาก Kingston

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

รายละเอียดเกี่ยวกับ NVMe

M.2 คืออะไร NVMe คืออะไร มีความเกี่ยวข้องกับ SATA, AHCI อย่างไรและมีความแตกต่างด้านความเร็วอย่างไร เราได้แยกย่อยตัวย่อต่าง ๆ ไว้ในกราฟิกข้อมูลของเราเพื่อให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี SSD ล่าสุดที่เร็วขึ้นและดียิ่งกว่าเดิมได้ดียิ่งขึ้น ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่าง NAND กับ SATA

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

NVMe SSD ในระบบไคลเอนท์ เช่น เดสก์ทอป โน้ตบุ๊ก และเวิร์คสเตชั่น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อบันทึกข้อมูลโดยรวมได้มากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ NVMe คือผู้นำของมาตรฐาน SSD ใหม่ และ NVMe SSD จาก Kingston เองก็ได้รับการออกแบบมาสำหรับสื่อบันทึกข้อมูลแบบต่าง ๆ ที่จะเป็นตัวเลือกให้กับ PC รุ่นใหม่ ๆ รวมทั้งสำหรับผู้ที่ต้องการอัพเกรดสื่อบันทึกข้อมูลสำหรบเดสก์ทอปและโน้ตบุ๊กของตน . ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NVMe SSD สำหรับระบบไคลเอนท์

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

NVMe ออกแบบมาเพื่อการจัดเก็บข้อมูลระดับองค์กรโดยเฉพาะ ซึ่งมีแบนด์วิธมากขึ้นถึงหกเท่า และมีค่าหน่วงเวลาลดลงถึงสามเท่า อีกทั้งยังรองรับระบบประมวลผลแบบหลายแกนประมวลผล โดยมีขีดความสามารถในการทำงานเหนือกว่าโปรโตคอล SATA ที่เดิมพัฒนาขึ้นมาสำหรับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือก NVMe สำหรับศูนย์ข้อมูล

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

SSD มีจำหน่ายหลากหลายฟอร์มแฟคเตอร์และโปรโตคอล SSD ตัวแรกมีขนาด 2.5 นิ้ว โดยเชื่อมต่อแบบ SATA และใช้โปรโตคอล AHCI ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับฮาร์ดไดร์ฟเพื่อให้รองรับการอัปเกรดจาก HDD เป็น SSD ได้โดยง่าย ต่อมาจึงมีการพัฒนา NVMe ขึ้นเป็นโปรโตคอลจัดเก็บข้อมูลแฟลชในตัวเพื่อเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งพบได้ใน PC และโน้ตบุ๊กระดับสูงรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น NVMe SSD มีจำหน่ายทั้งแบบ M.2, U.2 หรือ AIC PCIe SATA SSD ขนาด 2.5 นิ้ว ได้รับความนิยมมาสักพักใหญ่แล้วและยังพบเห็นได้ใน PC จำนวนมาก ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่าง NAND กับ SATA

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

รายละเอียดเกี่ยวกับ M.2 SSD

สำหรับเครื่องฟังก์ชั่นสำเร็จ (embedded) ที่มีพื้นที่จำกัด M.2 SSD อาจรองรับความหนาแตกต่างกัน และมีทั้งรุ่นด้านเดียว 3 แบบ (S1, S2 และ S3) หรือรุ่นสองด้าน 5 แบบ (D1, D2, D3, D4 และ D5) สถาปัตยกรรมบางรุ่นอาจมีเงื่อนไขเฉพาะเนื่องจากพื้นที่ที่จำกัดด้านล่างหัวต่อ M.2

Main System Board

Kingston M.2 SSD ได้มาตรฐาน Dual Sided M.2 สามารถเสียบใช้งานได้กับเมนบอร์ดส่วนใหญ่ที่รองรับ Dual Sided M.2 SSD สอบถามรายละเอียดได้จากพนักงานขายจาต้องการรุ่น Single-Sided สำหรับการใช้งานแบบฟังก์ชั่นสำเร็จเฉพาะรุ่น

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

M.2 พัฒนาขึ้นภายใต้มาตรฐาน PCI-SIG และ SATA-IO โดยจัดอยู่ในกลุ่ม PCI-SIG M.2 และ SATA Rev. 3.2 เดิมทีมาตรฐานดังกล่าวนี้เรียกเป็น Next Generation Form Factor (NGFF) จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น M.2 เมื่อปี 2013 หลายคนยังอ้างถึงมาตรฐาน M.2 เป็น NGFF อยู่ตามเดิม

M.2 เป็นฟอร์มแฟคเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ได้กับการ์ดเสริมหลากหลายประเภท เช่น Wi-Fi, Bluetooth, ระบบนำทางดาวเทียม, Near Field Communication (NFC), วิทยุดิจิตอล, Wireless Gigabit Alliance (WiGig), Wireless WAN (WWAN) รวมถึง Solid-State Drives (SSD)

M.2 มีฟอร์มแฟคเตอร์ย่อยอีกบางส่วนที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะสำหรับ SSD

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

M.2 SSD ทุกตัวสามารถเสียบระนาบกับช่องเสียบ M.2 ที่เมนบอร์ด ฟอร์มแฟคเตอร์ M.2 ช่องทางการทำงานที่เหนือกว่ากับขนาดที่เล็กกว่า ถือเป็นมาตรฐานในอนาคตสำหรับ SSD นอกจากนี้ยังไม่ต้องใช้สายจ่ายไฟหรือสายสัญญาณใด ๆ ทำให้ไม่ต้องวุ่นวายเรื่องสายต่อ M.2 SSD คล้ายกับ mSATA SSD คือสามารถเสียบต่อที่ช่องเสียบก็เสร็จสิ้นทันที

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

มีโน้ตบุ๊กและเมนบอร์ดหลายรุ่นที่รองรับ M.2 SSD กรุณาตรวจสอบรายละเอียดทางเทคนิคและคู่มือผู้ใช้เพื่อตรวจสอบการรองรับการทำงานก่อนจัดซื้อ M.2 SSD

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

สำหรับโมดูล M.2 แบบ SSD ขนาดโดยทั่วไปคือกว้าง 22 มม. ยาว 30 มม., 22 x 42 มม., 22 x 60 มม., 22 x 80 มม. และ 22 x 110 มม. การ์ดจะถูกเรียกตามขนาดที่ระบุข้างต้น: เลข 2 ตัวแรกใช้ระบุความกว้าง (22 มม. ทุกรุ่น) และเลขส่วนที่เหลือใช้ระบุความยาวจาก 30 - 110 มม. ดังนั้น M.2 SSD จะถูกอ้างอิงเป็น 2230, 2242, 2260, 2280 และ 22110

ภาพด้านล่างแสดง SSD ขนาด 2.5 นิ้วและ M.2 SSD 2242, 2260 และ 2280:

Size range image

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

มีอยู่ 2 สาเหตุที่มีความยาวแตกต่างกัน:

  1. ความยาวที่แตกต่างกันรองรับความจุไดร์ฟ SSD ที่แตกต่างกัน ยิ่งไดร์ฟยาวยิ่งสามารถติดตั้งชิปแฟลช NAND ได้มากขึ้น รวมทั้งชุดควบคุมและชิปหน่วยความจำ DRAM ความยาว 2230 และ 2242 รองรับชิปแฟลช NAND 1-3 ตัว ในขณะที่ 2280 และ 22110 รองรับชิปแฟลช NAND 8 ตัว ทำให้ SSD จุถึง 2TB สำหรับฟอร์มแฟคเตอร์ M.2 ที่ใหญ่ที่สุด
  2. พื้นที่ซ็อคเก็ตในเมนบอร์ดอาจเป็นตัวกำหนดขนาดของ M.2: โน้ตบุ๊กบางตัวสามารถรองรับ M.2 เพื่อใช้เป็นแคช โดยสามารถรองรับพื้นที่ขนาดเล็กเฉพาะ 2242 M.2 SSD เท่านั้น (2230 M.2 SSD มีขนาดเล็กกว่าแต่มักไม่เลือกใช้กัน ส่วนใหญ่จะเป็น 2242 M.2 SSD)

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ไม่ ทั้ง SATA และPCIe M.2 SSD ใช้ไดร์เวอร์ AHCI มาตรฐานที่ติดตั้งมาในระบบปฏิบัติการเหมือน ๆ กัน ทั้งนี้คุณอาจต้องเปิดใช้ M.2 SSD ใน BIOS เครื่องก่อนสามารถใช้งานได้

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ในบางกรณี ซ็อตเก็ต M.2 SSD อาจแชร์เลน PCIe หรือพอร์ต SATA กับอุปกรณ์อื่น ๆ บนเมนบอร์ด ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจากเอกสารกำกับเมนบอร์ด เนื่องจากการใช้พอร์ตแชร์ทั้งสองพอร์ตพร้อมกันอาจทำให้อุปกรณ์อีกตัวไม่สามารถใช้การได้

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ไม่เหมือนกัน M.2 รองรับทั้งอินเทอร์เฟซ SATA และ PCIe ในขณะที่ mSATA รองรับเฉพาะ SATA เท่านั้น ในทางกายภาพทั้งสองจะมีลักษณะแตกต่างกันและไม่สามารถเสียบต่อกับขั้วต่อเดียวกันที่เครื่องได้

Module image

M.2 2280 (ด้านบน) เทียบกับ mSATA สังเกตที่คีย์ (หรือร่องบาก) ที่ใช้เพื่อป้องกัน การเสียบเข้าผิดช่องติดตั้ง

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ฟอร์มแฟคเตอร์ M.2 พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกที่หลากหลายสำหรับการ์ดขนาดเล็ก รวมทั้ง SSD SSD ก่อนหน้านี้ต้องอาศัย mSATA ซึ่งเป็นฟอร์มแฟคเตอร์ที่เล็กที่สุด ทั้งนี้ mSATA ที่มีความจุถึง 1TB จะมีราคาสูงมาก คำตอบจึงเป็น M.2 ตัวใหม่ที่รองรับขนาดและความจุการ์ด M.2 SSD ที่หลากหลาย M.2 ช่วยให้ผู้ผลิตเครื่องสามารถกำหนดมาตรฐานฟอร์มแฟคเตอร์ขนาดเล็กเพื่อให้รองรับความจุในระดับสูงได้ในกรณีที่จำเป็น

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

M.2 มีลิ่มหรือร่องบากอยู่ 12 จุดที่การ์ด M.2 และอินเทอร์เฟซซ็อคเก็ต ซึ่งบางส่วนสงวนไว้สำหรับการใช้งานในอนาคต:

table

M.2 SSD จะมีคีย์ที่ใช้ทั่วไปอยู่ 3 ตัวได้แก่

  1. หัวต่อขอบตัว B รองรับโปรโตคอล SATA และ/หรือ PCIe ขึ้นอยุ่กับอุปกรณ์ที่ใช้ แต่จะรองรับมาตรฐาน PCIe x2 (1,000MB/s) ในบัส PCIe เท่านั้น
  2. หัวต่อขอบตัว M รองรับโปรโตคอล SATA และ/หรือ PCIe ขึ้นอยุ่กับอุปกรณ์ที่ใช้ และรองรับมาตรฐาน PCIe x4 (2,000MB/s) ในบัส PCIe เท่านั้นโดยระบบโฮสต์จะต้องรองรับมาตรฐาน x4 ด้วย
  3. หัวต่อขอบตัว B+M รองรับโปรโตคอล SATA และ/หรือ PCIe ขึ้นอยุ่กับอุปกรณ์ที่ใช้ แต่จะรองรับความเร็วได้ไม่เกินสองเท่าเมื่อทำงานผ่านบัส PCIe

ประเภทคีย์ที่แตกต่างกันมักกำกับไว้ที่หรือใกล้กับหัวต่อบริเวณขอบ (หรือแถบสีทอง) ของ M.2 SSD และที่ซ็อคเก็ต M.2

Key image

M.2 SSD แบบคีย์ตัว B จะมีจำนวนขาที่ขอบ (6) แตกต่างออกไปกับคีย์ตัว M ของ M.2 SSD (5) เค้าโครงแบบอสมมาตรนี้ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้สลับด้าน M.2 SSD หรือพยายามเสียบต่อ M.2 SSD คีย์ตัว B เข้ากับซ็อคเก็ตคีย์ตัว M หรือในทางกลับกัน

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

คีย์ B+M ที่ M.2 SSD ใช้เพื่อให้รองรับการทำงานได้อย่างครอบคลุมสำหรับเมนบอร์ดรุ่นต่าง ๆ หากมีโปรโตคอล SSD สำหรับใช้งานที่เหมาะสม (SATA หรือ PCIe) ขั้วต่อโฮสต์ของเมนบอร์ดบางตัวอาจออกแบบมาเฉพาะสำหรับ SSD คีย์ตัว M ในขณะที่รุ่นอื่น ๆ อาจออกแบบมารองรับ SSD คีย์ตัว B SSD คีย์ B+M ออกแบบมาเพื่อแก้ไขข้อจำกัดนี้ ทั้งนี้การเสียบต่อ M.2 SSD ในซ็อคเก็ตไม่ได้เป็นการรับประกันว่าจะสามารถใช้งรานได้ เนื่องจากจะขึ้นอยู่กับโปรโตคอลแชร์ระหว่าง M.2 SSD และเมนบอร์ด

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

อ่านรายละเอียดที่แจ้งมากับเมนบอร์ด/แจ้งโดยผู้ผลิตเครื่องเพื่อยืนยันว่าระบบรองรับความยาวเท่าใด เมนบอร์ดส่วนใหญ่รองรับความยาวที่ 2260, 2280 และ 22110 เมนบอร์ดหลายรุ่นจะมีการกำหนดระยะออฟเซ็ตสำหรับสกรูยึดหลายระยะ ทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งM.2 SSD ได้ทั้งรุ่นความยาว 2242, 2260, 2280 หรือแม้แต่รุ่น 22100 พื้นที่ของเมนบอร์ดเป็นตัวจำกัดขนาดของ M.2 SSD ที่สามารถติดตั้งกับซ็อคเก็ตและใช้งานได้

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

M.2 มีซ็อคเก็ตหลายประเภท จึงต้องเลือกอุปกรณ์ประเภทที่เหมาะสมกับซ็อคเก็ต

Socket 1 ออกแบบมาสำหรับ Wi-Fi, Bluetooth®, NFC และ WI Gig

Socket 2 ออกแบบมาสำหรับ WWAN, SSD (caching) และ GNSS

Socket 3 ออกแบบมาสำหรับ SSD (ทั้ง SATA และ PCIe ประสิทธิภาพสูงสุดระดับ x4)

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ไม่ได้ M.2 SSD ไม่ได้ออกแบบมาให้เสียบใช้งานได้ทันที กรุณาติดตั้งหรือถอด M.2 SSD ขณะปิดเครื่อง

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

M.2 SATA SSD vs M.2 PCIe SSD

ประสิทธิภาพจะใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชุดควบคุมเฉพาะภายในระบบโฮสต์ที่ SSD ใช้ รวมทั้งโครงร่างภายในและชุดควบคุมของ SSD แต่ละตัว SATA 3.0 รองรับความเร็วสูงสุด 600MB/s ไม่ว่าจะเป็นแบบ 2.5 นิ้ว mSATA หรือ M.2 SSD

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

หากระบบโฮสต์ไม่รองรับโปรโตคอล PCIe ตัว PCIe M.2 SSD มักจะไม่ถูกตรวจพบโดย BIOS ทำให้ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบได้ เช่นเดียวกัน หากติดตั้ง SATA M.2 SSD เข้ากับซ็อคเก็ตที่รองรับ PCIe M.2 SSD อย่างเดียว SATA M.2 SSD จะไม่สามารถใช้งานได้

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

PCIe M.2SSD สามารถทำงานที่ความเร็ว PCIe x2 (2 เลน) ที่มีอยู่ภายในเมนบอร์ด หากคุณจัดซื้อเมนบอร์ดที่รงอรับ PCIe x4 ตัว M.2 SSD ความเร็ว x4 ของคุณจะทำงานได้ภายใต้ในมาตรฐานดังกล่าว ทั้งนี้มีข้อจำกัดสำหรับ PCIe ในเมนบอร์ดที่มีเลน PCIe จำกัด ทำให้ PCIe M.2 x4 SSD มี 2 เลนหรือไม่มีเลย

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ไม่ M.2 SSD รองรับทั้ง SATA หรือ PCIe แต่ไม่สามารถรองรับทั้งสองอย่างได้พร้อมกัน นอกจากนี้ ซ็อคเก็ตบนเมนบอร์ดยังมีการกำหนดรายละเอียดเฉพาะโดยผู้ผลิตเพื่อให้รองรับทั้ง SATA, PCIe หรือทั้งสองอย่าง สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องตรวจสอบคู่มือเครื่องก่อนว่าเครื่องของคุณรองรับเทคโนโลยีใด

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

อินเทอร์เฟซ PCIe ทำงานได้เร็วกว่า เนื่องจาก SATA 3.0 จำกัดความเร็วสูงสุดไว้ที่ 600MB/s ในขณะที่ PCIe Gen 2 x 2 ช่องทางรองรับความเร็วถึง 1000MB/s โดย Gen 2 x 4 ช่องทางรองรับความเร็วที่ 2000MB/s ส่วน Gen 3 x 4 ช่องทางรองรับความเร็วสูงถึง 4000MB/s

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

Kingston SSD – ครบทุกข้อมูลที่คุณควรรู้

Kingston SSD ผลิตโดยใช้หน่วยความจำแฟลช NAND

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ไดร์ฟ SSD จาก Kingston ไม่ได้อิงกับระบบปฏิบัติการ สามารถทำงานได้กับทุกระบบที่ใช้อินเทอร์เฟซ SATA มาตรฐาน

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ไม่ต้องติดตั้งไดร์เวอร์ใด ๆ เพิ่มเติม

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ระบบส่วนใหญ่สามารถอัพเกรดได้ด้วย Kingston SSD เครื่องรุ่นเก่าแบบ SATA II สามารถอัพเกรดเป็น Kingston SATA SSD เครื่องรุ่นใหม่ที่รองรับ SATA III, PCIe NVMe หรือทั้งสองอย่าง เครื่องเหล่านี้สามารถอัพเกรดด้วย Kingston SATA SSD และ Kingston PCIe NVMe SSD ประสิทธิภาพสูง เลือก Kingston SSD ที่เหมาะสมกับเครื่องของคุณโดยใช้ระบบกำหนดโครงร่างการทำงานของ Kingston หรือติดต่อฝ่ายให้บริการด้านเทคนิคของ Kingston

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

แนะนำให้ใช้ Kingston Data Center (DC) series SSD สำหรับโครงร่างการทำงานแบบ RAID Kingston Data Center series SSD รองรับชุดควบคุม RAID ที่ดีกว่า และปรับแต่งมาโดยเฉพาะสำหรับศูนย์ข้อมูล/การใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการขีดความสามารถสูง และมีประสิทธิภาพและความทนทานเหนือกว่า SSD ไคลเอนท์

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

เครื่องระบบ SAS (Serial Attached SCSI) และระบบควบคุมส่วนใหญ่จะรองรับอุปกรณ์ SATA ทั้งนี้ Kingston ขอแนะนำให้ผู้ใช้ตรวจดูเอกสารคู่มือของเครื่องหรือระบบควบคุม เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งไดรฟ์ SATA และ SAS สามารถใช้งานร่วมกันได้ หากรองรับการทำงานร่วมกัน ไดร์ฟ SSD จาก Kingston จะสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่เกิดปัญหา

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

Kingston SSD มีระบบจัดเก็บข้อมูลขยะอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของไดร์ฟและส่งผลต่อความทนทานของหน่วยความจำแฟลชเพียงเล็กน้อย และการทำงานไม่รบกวนการใช้งานตามปกติของผู้ใช้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบจัดเก็บข้อมูลขยะสำหรับ SSD

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

ไดร์ฟ SSD จาก Kingston ใช้ระบบกระจายการสึกหรอขั้นสูงในตัว โดยอัลกอริทึมกำหนดบล็อคข้อมูลจะช่วยยืดอายุการใช้งานของแฟลชและทำให้ไดร์ฟใช้งานได้ยาวนานขึ้น ระบบกระจายการสึกหรอแบบพิเศษทำให้ให้มีการใช้งานบล็อคหน่วยความจำแฟลชแต่ละส่วนในอัตราที่สมดุลกัน คือแตกต่างกันไม่เกิน 2% ระหว่างบล็อคที่มีการเขียนข้อมูลมากที่สุดและบล็อคที่มีการเขียนข้อมูลน้อยที่สุด

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

Trim และ Garbage Collection คือเทคโนโลยีที่ SSD รุ่นใหม่ใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและความทนทานในการใช้งาน หากคุณใช้ SSD ใหม่ บล็อค NAND ทั้งหมดจะยังไม่มีข้อมูล ดังนั้น SSD จะสามารถเขียนข้อมูลใหม่ไปยังบล็อคเปล่าได้ในการทำงานหนึ่งครั้ง เมื่อผ่านไปบล็อคข้อมูลเปล่าก็จะถูกใช้งานและเก็บข้อมูลผู้ใช้ไว้ เพื่อเขียนข้อมูลใหม่ลงไปยังบล็อคที่ใช้งานแล้ว SSD จะต้องทำงานเป็นรอบการอ่าน-แก้ไข-เขียนข้อมูล รอบการอ่าน-แก้ไข-เขียนข้อมูลมีผลกระทบต่อ SSD โดยรวมเนื่องจากจะต้องทำงานถึงสามอย่างแทนที่จะเป็นเพียงอย่างเดียว รอบการอ่าน-แก้ไข-เขียนข้อมูลจะทำให้เกิดภาระอย่างมากต่อ SSD และความทนทานของไดร์ฟโดยรวม

Trim และ Garbage Collection จะทำงานประสานกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ SSD และความทนทานของไดร์ฟโดยการเพิ่มพื้นที่ให้แก่บล็อคข้อมูลที่ถูกใช้งานแล้ว Garbage Collection เป็นฟังก์ชั่นสำเร็จในระบบควบคุม SSD โดยจะรวบรวมข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในบล็อคที่ใช้งานแล้วเข้าด้วยกันเพื่อให้มีบล็อคเปล่าสำหรับใช้งาน กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอยู่เบื้องหลังและจัดการโดย SSD เองทั้งหมด
 อย่างไรก็ตาม SSD อาจไม่ทราบว่าบล็อคข้อมูลใดที่มีข้อมูลผู้ใช้และบล็อคข้อมูลใดที่มีข้อมูลที่ผู้ใช้ลบทิ้งไปแล้ว นี่เป็นจุดที่การทำงานแบบ Trim เข้ามาดูแล โดย Trim จะช่วยให้ระบบปฏิบัติการสามารถแจ้งกับ SSD ว่าข้อมูลใดที่ถูกลบเพื่อให้ SSD สามารถเพิ่มพื้นที่ให้กับบล็อคข้อมูลที่เคยถูกใช้งานก่อนหน้านี้
 ในการทำงานระบบปฏิบัติการและตัว SSD เองจะต้องรองรับฟังก์ชั่นนี้ด้วย ปัจจุบันระบบปฏิบัติการและ SSD รุ่นใหม่ ๆ จะรองรับ Trim แต่โครงร่างการทำงาน RAID ส่วนใหญ่ยังไม่รองรับ

Kingston SSD ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Garbage Collection และ Trim เพื่อรักษาประสิทธิภาพและความทนทานตลอดอายุการใช้งานของไดร์ฟ

เรียนรู้เพิ่มเติม

FAQ: KSD-011411-GEN-13

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่