รับชมสัมมนาออนไลน์
เราจะพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องพิจารณาหลังเปิดตัว Win11 และสาเหตุที่เราอยู่ในสถานการณ์ซึ่งการอัพเกรดอาจแก้ไขปัญหางบประมาณ์ด้าน IT ได้
หลังมีการประกาศเปิดตัว Windows 11 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ (OS) ใหม่ล่าสุดจาก Microsoft สิ่งที่หลายคนให้ความสนใจคือคุณสมบัติการทำงานใหม่ ๆ รวมทั้งฟังก์ชั่นการทำงานร่วมกันต่าง ๆ และประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ที่จะต้องเหนือกว่าเดิม
อีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับการเปิดตัว OS ครั้งสำคัญใด ๆ ก็คือความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ รวมถึงการพิจารณาว่าองค์กรควร “โละเครื่องและเปลี่ยนใหม่” หรือสามารถเลือกอัพเกรดอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้
ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกถึงข้อควรพิจารณาที่สำคัญและสิ่งที่ควรระวัง โดยจะเริ่มจากการพิจารณาความต้องการของระบบที่จำเป็นในการอัพเกรด ทั้งนี้ อุปกรณ์ควรมีมีสเปคที่เหนือกว่าข้อมูลจำเพาะขั้นต่ำเพื่อให้การใช้งานของผู้ใช้ราบรื่นและไร้จุดติดขัด
ข้อมูลการเปิดตัว Windows 11{{Footnote.A64547}} ระบุว่าคุณจะต้องติดตั้ง CPU ความเร็วอย่างน้อย 1Ghz ที่มีแกนประมวลผล 2 แกนขึ้นไปโดยเป็นโปรเซสเซอร์ 64 บิตหรือ System on a Chip (SoC) ซึ่งหมายถึง CPU สำหรับเดสก์ทอป/โน้ตบุ๊กต่อไปนี้จะสามารถใช้งานได้ (มิถุนายน 2021):
อย่างไรก็ตาม รายการนี้ไม่ใช่ข้อสรุปที่แน่ชัดและ CPU รุ่นก่อนหน้าก็อาจทำงานร่วมกับ Windows 11 ได้เช่นกัน เพียงแต่อายุของส่วนประกอบในระบบของคุณอาจเป็นปัจจัยชี้นำและอาจมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าในกรณีใด ขอแนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลความเข้ากันได้ของ Windows 11 จากเว็บไซต์{{Footnote.A64489}}.
อีกประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือข้อกำหนดสำหรับ DRAM ของคุณ และการทำงานของ DRAM ร่วมกับ CPU ของคุณทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับ RAM/DRAM คือต้องมีความจุอย่างน้อย 4GB (กิกะไบต์) อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ การมีสเปคที่สูงกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำจะทำให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น
ปัจจัยสำคัญอีกประการคือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีหน่วยความจำที่มีผลกับกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งหมด เมื่อพิจารณาจากการปรับเปลี่ยนจาก DRAM แบบ 8Gbit มาเป็นแบบ 16Gbit รวมทั้งความเข้ากันได้ของ CPU รุ่นล่าสุดจาก Intel (เจน 8 ขึ้น){{Footnote.A64548}} คุณอาจได้ข้อสรุปแล้วว่าอุปกรณ์ของคุณเหมาะสำหรับอัพเกรดเป็น Windows 11 หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น นี่เป็นโอกาสที่ดีที่จะใช้ประโยชน์จากระบบของคุณให้คุ้มค่ามากที่สุดโดยการอัพเกรดหน่วยความจำของคุณ และเป็นวิธีที่ประหยัดในการปรับปรุงอุปกรณ์ของคุณให้ทันสมัยด้วย Windows 11
Trusted Platform Module หรือ TPM เป็นคำที่หลายคนอาจไม่คุ้นหูก่อนหน้าที่จะมีการเปิดตัว Windows 11 แต่นี่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้งาน Windows 11
TPM คือคริปโตโปรเซสเซอร์ที่ดูแลความปลอดภัยให้กับคอมพิวเตอร์ในระดับฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะช่วยป้องกันภัยคุกคามโดยอาศัยคีย์คริปโตกราฟิกในตัว ซึ่งจะทำงานกับระบบและแอพพลิเคชั่นอื่น ๆ ใน PC ของคุณ เนื่องจากเป็นการทำงานในระดับฮาร์ดแวร์ จึงถือว่าปลอดภัยกว่าการเข้ารหัสด้วยซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียว
พูดง่าย ๆ คืออุปกรณ์ที่ไม่มี TPM 2.0 จะไม่สามารถอัพเกรดเป็น Windows 11 ได้ เว้นแต่คุณจะซื้อและติดตั้งโมดูล TPM 2.0 (สำหรับเดสก์ทอป)
หากต้องการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ของคุณมี TPM 2.0 หรือไม่ ให้ค้นหา “Windows Security” จากเมนู Start แล้วเลือก “Device Security” จากนั้นเลือก “Security processor details” อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่า “Specification Version” คือ 2.0 เนื่องจากเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้จะใช้งานร่วมกันไม่ได้
เราจะพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องพิจารณาหลังเปิดตัว Win11 และสาเหตุที่เราอยู่ในสถานการณ์ซึ่งการอัพเกรดอาจแก้ไขปัญหางบประมาณ์ด้าน IT ได้
สำหรับ SSD แล้ว DirectStorage เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่ง แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้จำกัดเฉพาะสำหรับการเล่นเกม PC เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ข้อกำหนดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานในระดับองค์กรคือต้องมีพื้นที่ใช้งานอย่างน้อย 64GB และจะต้องรองรับทั้ง SSD ในกลุ่ม SATA และ NVMe เนื่องจาก Windows 11 OS เพียงอย่างเดียวก็อาจใช้พื้นที่มากถึง 50GB การมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เพียงพอหรือมากกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำจึงเป็นสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ตาม การใช้ไดร์ฟ NVMe อย่างแพร่หลายมากขึ้นอาจเป็นตัวกระตุ้นให้แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ หันมาใช้ประโยชน์จากความเร็วของไดร์ฟ NVMe และเมื่อรวมเข้ากับการเปิดตัวของการอัพเกรดหน่วยความจำ การเพิ่มทั้งความเร็วและความจุของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในอุปกรณ์ของคุณจะช่วยเพิ่มโอกาสในการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานในลักษณะที่คุ้มค่า
การเปิดตัว Windows 11 มีข้อดีอยู่หลายประการ และดูเหมือนว่าจะมอบประสบการณ์ที่ราบรื่นและปลอดภัยยิ่งขึ้นให้ผู้ใช้ PC/โน้ตบุ๊ก ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ทั่วไปหรือผู้ใช้ระดับองค์กร ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น องค์กรของคุณควรจะอัพเกรดมาใช้ Windows 11 หรือไม่นั้นต้องพิจารณาจากความเข้ากันได้ของอุปกรณ์และขั้นตอนการรีเฟรชระบบ IT ของคุณ
เมื่อพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี การอัพเกรดฮาร์ดแวร์อาจถูกจำกัดด้วยความสามารถในการอัพเกรด เช่น DDR3 DRAM ที่หมดอายุการใช้งาน เนื่องด้วยซัพพลายเออร์ที่ผลิตเทคโนโลยีรุ่นเก่าน้อยลง รวมถึงเส้นราคา/จำนวนที่มีจัดจำหน่ายตามเทคโนโลยีกระแสปัจจุบัน/กระแสหลัก การพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างการเลือกอัพเกรดหรือรีเฟรชระบบจึงเป็นเรื่องสำคัญ
แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงกลางของรอบการรีเฟรชโน้ตบุ๊ก/เดสก์ทอป นี่ถือเป็นโอกาสสำคัญในการยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ของคุณ พร้อม ๆ กับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ระบบรักษาความปลอดภัย และประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ที่ดีกว่าเดิม การเลือกอัพเกรดหน่วยความจำและ SSD ทำให้เครื่องของคุณสามารถพัฒนาความสามารถเหล่านี้ได้โดยใช้ค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการซื้อเครื่องใหม่อย่างมาก
ไม่ว่าข้อกำหนดหรือความต้องการในการใช้งานของคุณจะเป็นอะไร #KingstonIsWithYou และเรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมแนะนำสิ่งที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น SSD, หน่วยความจำ หรือ USB บริการ Ask an Expert สามารถให้คำแนะนำที่เป็นกลางเกี่ยวกับวิธีที่คุณสามารถบรรลุเป้าหมายได้
#KingstonIsWithYou
การวางแผนโซลูชั่นที่เหมาะสมต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่งานและระบบของคุณต้องการ ให้ผู้เชี่ยวชาญจาก Kingston คอยแนะนำคุณ
ถามผู้เชี่ยวชาญ
เลือกหน่วยความจำสำหรับใช้งานได้ง่าย ๆ กับ Kingston
ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญกว่า 35 ปีของ Kingston ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าเรามีความรู้และความเชี่ยวชาญในการเลือกหน่วยความจำที่คุณเชื่อมั่นได้
เพียงแค่กรอกยี่ห้อหรือเลขรุ่นหรือเลขชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดิจิตอลเพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์จาก Kingston ที่คุณต้องการ
ค้นหาจากเลขชิ้นส่วนของ Kingston เลขชิ้นส่วนของตัวแทนจำหน่ายหรือเลขชิ้นส่วนของผู้ผลิต