หญิงสาวและชายหนุ่มกำลังมองไปที่แท็บเล็ต

การประเมินผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูลสำหรับใช้งานในองค์กรของคุณ

สำหรับแผนก IT การพิจารณาผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูลคือกระบวนการที่สำคัญที่อาจส่งผลต่อโครงสร้างพื้นฐานระบบดิจิทัลของบริษัทในภาพรวม ผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่มีการเตรียมการมาอย่างเป็นระบบอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยงานและทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในการทำงาน หรือแม้แต่ข้อมูลสูญหายอย่างถาวรในกรณีที่ร้ายแรงที่สุด ในขณะเดียวกันการตัดสินใจที่ชาญฉลาดร่วมกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เหมาะสมจะทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูลร่วมกันที่ปรับสเกลได้ รวมทั้งตอบโจทย์วัตถุประสงค์ด้านประสิทธิภาพและระดับความน่าเชื่อถือในการให้บริการของระบบที่จะนำมาใช้

การดูแลสถาปัตยกรรม IT (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสเกลใหญ่ๆ) อาจเปรียบเหมือนกับการดูแลรักษารถคันเก่าให้ใช้งานได้ตามปกติ นี่เป็นงานที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้ทรัพยากรมากหากคุณไม่มีเวลาหรือทุนเพียงพอในการจัดหาทางเลือกที่ดีกว่า ผู้ดูแลระบบ IT ที่ต้องทำงานกับฮาร์ดแวร์ที่ล้าสมัยหรือขาดประสิทธิภาพอาจประสบปัญหามากมายในการรองรับแผนการปรับเปลี่ยนด้านข้อมูลของหน่วยงาน

การเลือกผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสม

มือในเสื้อสูททำงานกำลังคลิกที่หน้าจอเสมือนจริงเพื่อเลือกจัดการเอกสาร การอัพโหลดและดาวน์โหลด การรักษาความปลอดภัย ค่าปรับตั้ง ฯลฯ

ขณะออกแบบระบบการทำงานใหม่ สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องเข้าใจสถาปัตยกรรมและการออกแบบระบบการทำงานที่จะนำมาใช้ในภาพรวม ตลอดจนข้อจำกัดด้านทรัพยากรต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในทุก ๆ ขั้นตอน สิ่งนี้จะทำให้ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นและนักออกแบบสื่อบันทึกข้อมูลสามารถเลือกและกำหนดรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสม เราขอนำเสนอคำถามสำคัญ ๆ บางส่วนที่นักออกแบบระบบจัดเก็บข้อมูลควรพิจารณาเพื่อให้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ:

  • ระบบจัดเก็บข้อมูลนี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
  • จะต้องมีการสืบค้นสื่อบันทึกข้อมูลในระดับบล็อคข้อมูล ไฟล์หรือออบเจคต์หรือไม่
  • การทำงานโดยปกติมากน้อยแค่ไหน
  • เงื่อนไขด้าน IOPS, ปริมาณ Throughput และค่าหน่วงเวลาเป็นอย่างไร
  • ความพร้อมใช้งานที่กำหนดเป็นอย่างไร (99.9%,99.99%,99.999%?)
  • ต้องมีการสำรองข้อมูลหรือไม่ บ่อยแค่ไหน
  • ต้องจำลองข้อมูลหรือไม่
  • เงื่อนไขในการกู้ระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น เงื่อนไขเชิงเวลาในการกู้ระบบ (RTO) และเงื่อนไขของจุดที่ใช้กู้ระบบ (RPO) เป็นอย่างไร
  • เงื่อนไขในการเก็บรักษาข้อมูลเป็นอย่างไร
  • ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนหรือรายปีมากน้อยแค่ไหน
  • ความจุพื้นที่ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อปีเป็นเท่าใด

เงื่อนไขด้านข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่

การทำความเข้าใจเงื่อนไขระดับบล็อคข้อมูล ไฟล์และออบเจคต์

ขณะเริ่มใช้งานแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ สิ่งสำคัญคือจะต้องเข้าใจว่าข้อมูลใดบ้างที่จะถูกจัดเก็บเพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลระดับบล็อค ไฟล์หรือออบเจคต์ดี

การจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อคเป็นแนวทางพื้นฐานสำหรับระบบ DAS และ SAN ในกรณีของ DAS ไดรฟ์ RAID หรือไดรฟ์ทางกายภาพทั้งหมดจะถูกนำเสนอกับ OS เป็นไดรฟ์ปกติที่ไม่มีการฟอร์แมตใด ๆ ในกรณีของ SAN ตัว LUN ทั้งหมด (ไดรฟ์ทางกายภาพหลาย ๆ ตัว) ที่ถูกนำเสนอจากอาร์เรย์จัดเก็บข้อมูลจะถูกนำเสนอกับ OS ผ่านเครือข่ายความเร็วสูงและแสดงเป็นไดรฟ์ปกติแบบไม่มีการฟอร์แมต โครงสร้างต่าง ๆ ของไดรฟ์ที่ไม่มีการปรับแต่งใด ๆ นี้ประกอบไปด้วยส่วนประกอบและเซคเตอร์ขนาดย่อยที่ระบบปฏิบัติการต้องจัดการ จากนั้นระบบย่อยสำหรับการจัดเก็บข้อมูลจึงเทียบโยงโครงสร้างบล็อคข้อมูลทางตรรกะเข้ากับบล็อคข้อมูลทางกายภาพที่เฉพาะเจาะจงบนไดรฟ์ที่เฉพาะเจาะจงได้ ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อคทำงานได้เร็ว เชื่อถือได้และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ฐานข้อมูลเชิงสัมพัทธ์ ฐานข้อมูลประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ (OLTP) เซิร์ฟเวอร์อีเมลหรือโครงสร้างพื้นฐานเดสก์ทอปเสมือนจริง โดยจะมีค่า Throughput สูงและค่าหน่วงเวลาต่ำเป็นสำคัญ

ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออบเจคต์ (และเมต้าดาต้าที่เกี่ยวข้อง) ในส่วนจัดเก็บจะมีรหัสประจำตัวโดยไม่มีโฟลเดอร์หรือไดเรคทอรี่ย่อยอย่างระบบจัดเก็บข้อมูลแบบไฟล์ โดยจะใช้ค่าคีย์แทน ทุกคีย์จะเชื่อมโยงกับ “ค่า” หรือชุดข้อมูลเฉพาะ และถูกเรียกค้นผ่าน API

โดยปกติใช้สำหรับการจัดการข้อมูลที่ไม่เป็นระบบชัดเจนเป็นจำนวนมาก เช่น อีเมล รูปภาพที่สำรองข้อมูลไว้ คลิปวิดีโอจากกล้องวงจรปิด หรือเพื่อจัดการข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ของเครื่องจักรและการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่ม IoT ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออบเจคต์เหมาะสำหรับการจัดการข้อมูลเป็นจำนวนมาก และสามารถปรับขยายสเกลได้อย่างรวดเร็วตามโจทย์การใช้งาน แต่เรียกค้นข้อมูลได้ช้า ซึ่งทำให้ไม่เหมาะสำหรับฐานข้อมูลหรือการประมวลผลประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออบเจคต์ได้แก่ของ Amazon S33, Google Cloud หรือระบบจัดเก็บข้อมูลของ Azure Blob

ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบไฟล์จะใช้โฟลเดอร์และไดเรคทอรี่ย่อยในการจัดการ และแชร์ข้อมูลผ่านเครือข่ายโดยใช้ SMB (Windows) หรือ NFS (Linux) ซึ่งเหมาะสำหรับการรวมศูนย์ไฟล์จัดเก็บอย่างวิดีโอ ภาพหรือเอกสารต่าง ๆ แต่ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่นเมื่อข้อมูลมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ระบบนี้จึงไม่ใช่รูปแบบการใช้งานที่เหมาะที่สุดสำหรับการจัดการข้อมูลที่กระจัดกระจายเป็นจำนวนมากหรือข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอย่างฐานข้อมูล OLTP

คนงานกำลังใช้ปากกาสไตลัสทำงานกับจอเสมือนจริงอยู่หลังโน้ตบุ๊ก โดยกำลังเลือกตัวเลือกในการลงนามเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) และจะเลือกใช้ฐานข้อมูลภายในและระบบบริการข้อมูลเพื่อรองรับการประมวลผลธุรกรรมต่าง ๆ รวมทั้งพร้อมสำหรับการประสานการทำงานกับคลังออบเจคต์ข้อมูลคลาวด์เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เป็นระบบเป็นจำนวนมาก สิ่งนี้ทำให้ธุรกรรมที่มีค่า Throughput และใช้ IOPS สูงสามารถทำรายการได้ในระบบจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อคและแบบไฟล์ของศูนย์ข้อมูลภายในหรือในระบบจัดเก็บข้อมูลออบเจคต์ผ่านคลาวด์ที่ทำงานได้ช้ากว่าเพื่อรองรับข้อมูลที่กระจัดกระจายเป็นจำนวนมาก

การประมวลผลข้อมูลเป็นจำนวนมากต้องอาศัยระบบจัดเก็บข้อมูลตามประเภทข้อมูลที่หน่วยงานของคุณต้องการวิเคราะห์ เช่น ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลในระบบติดตั้งในพื้นที่และระบบคลาวด์ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป หน่วยงานจะต้องอาศัยแพลตฟอร์มข้อมูลแบบไฟล์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานการจัดเก็บแบบไฮบริดเพื่อให้สามารถวิเคราะห์และพัฒนาชุดข้อมูลที่จะใช้ประโยชน์ได้แบบเรียลไทม์

การทดสอบประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บข้อมูล

หัวใจสำคัญในการพิจารณาระบบจัดเก็บข้อมูลคือการทดสอบและยืนยันการทำงาน ข้อดีของการทดสอบมีอยู่มากมาย ประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีขึ้น การบริหารต้นทุนการจัดเก็บข้อมูลและปรับลดความเสี่ยง ซึ่งล้วนสามารถทดสอบได้ผ่านชุดเครื่องมือที่เหมาะสม แผนก IT ขนาดเล็กหรือที่มีทรัพยากรไม่เพียงพออาจมีปัญหาในการดำเนินการด้านนี้ และเครื่องมือแบบ DIY หรือแชร์แวร์ก็มักไม่รองรับส่วนการทดสอบหลาย ๆ รูปแบบที่จำเป็นสำหรับการทำงานจริงของหน่วยงาน

การทดสอบสามารถตอบข้อสงสัยต่าง ๆ เหล่านี้ได้:

  • ฉันสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของแอพได้มากขึ้นแค่ไหนจากระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่
  • ฉันมีเงินทุนเพียงพอในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบหรือไม่
  • เทคนิคใหม่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อกิกะไบต์โดยไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมมากจนเกินไปหรือไม่
  • ฉันจะเลือกเทคโนโลยี/ผลิตภัณฑ์/โครงร่างการทำงานที่ดีที่สุดตามปริมาณการทำงานของแอพที่ใช้ได้อย่างไร
  • ปริมาณการทำงานแบบใดที่ได้ประโยชน์จากสถาปัตยกรรม/ผลิตภัณฑ์แบบใหม่มากที่สุด
  • ข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพของโครงร่างการทำงานแบบใหม่ที่เลือกใช้ได้มีอะไรบ้าง
  • สื่อบันทึกข้อมูลจะเป็นอย่างไรเมื่อทำงานถึงขีดจำกัดสูงสุด

หากคุณเลือกระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความยืดหยุ่น สิ่งสำคัญคือการเลือกระบบจัดเก็บข้อมูลที่ใช้ได้ทั้งสำหรับข้อมูลและแอพใช้งาน

การรองรับผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูล

ผลิตภัณฑ์ดี ๆ อาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพในกรณีที่ไม่มีทีมงานฝ่ายสนับสนุนคอยช่วยองค์กรในการจัดการปัญหาต่าง ๆ ขณะใช้งานผลิตภัณฑ์ ในทางกลับกันผลิตภัณฑ์ที่ดีก็อาจยิ่งเป็นประโยชน์มากขึ้นเมื่อถูกใช้โดยเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคที่มีความสามารถ ดังนั้นจึงควรมีการปรึกษากับผู้ให้บริการระบบจัดเก็บข้อมูลในปัจจุบันของหน่วยงานของคุณขณะพิจารณาเลือกปรับเปลี่ยนระบบจัดเก็บข้อมูลของคุณ นอกจากนี้ ข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLA) อย่างการบรรลุเงื่อนไขด้าน KPI (เช่น ค่าหน่วงเวลา, ค่า Throughput หรือ IOPS) ณ ปริมาณการทำงานที่เฉพาะเจาะจงก็ควรเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเช่นกัน หากที่ปรึกษาหรือผู้ให้บริการที่คุณตั้งใจจะใช้บริการมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงการ (เช่น มักจะมีผลงานโดดเด่นเหนือกว่ามาตรฐานอุตสาหกรรม) คุณก็สามารถมั่นใจกับคำแนะนำของพวกเขาเมื่อมีการนำเสนอข้อดีต่าง ๆ เช่น IOPS, ค่า Throughput และค่าหน่วงเวลาในระดับที่เหมาะสมสำหรับแต่ละแพลตฟอร์ม

อีกองค์ประกอบที่จะต้องพิจารณาคือค่าใช้จ่ายของระบบจัดเก็บข้อมูลที่คุณกำลังพิจารณาเลือกใช้ ต้นทุนในการจัดซื้อไม่ใช่ข้อพิจารณาเดียว แต่ยังรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและต้นทุนการครอบครองโดยรวม (TCO) ที่จะต้องพิจารณาร่วมกันด้วย

#KingstonIsWithYou

ถามผู้เชี่ยวชาญระบบ SSD

 ถามผู้เชี่ยวชาญระบบ SSD

Kingston ขอนำเสนอข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับข้อดีต่าง ๆ ของ Enterprise SSD สำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลของคุณ และ SSD ที่เหมาะกับการการทำงานของคุณที่ต้องการความสมดุลระหว่างงานอ่านและเขียนข้อมูลแบบสุ่มในระดับสูงและ IOPS ในระดับที่มีเสถียรภาพเต็มที่

ถามผู้เชี่ยวชาญ

บทความที่เกี่ยวข้อง