มือกำลังพิมพ์รหัสผ่านบนแป้นพิมพ์ ข้อความบนหน้าจอคือ รหัสผ่านมีเครื่องหมายดอกจันซ่อนอยู่
วิธีปกป้องไฟล์และไดรฟ์ให้ปลอดภัยด้วยรหัสผ่าน

ผู้คนหลายสาขาอาชีพ ตั้งแต่หมอ ทนายความ ไปจนถึงนักธุรกิจต่างก็ปกป้องไฟล์ .pdf หรือ .xls ที่ส่งทางอีเมลด้วยรหัสผ่านและคิดว่าการทำแบบนี้จะปกป้องไฟล์เหล่านั้นได้อย่างเพียงพอและป้องกันไม่ให้คนอื่นเปิดดูข้อมูลในไฟล์ได้ แต่จริงๆ แล้ว การปกป้องข้อมูลด้วยรหัสผ่านทั่วๆ ไปนั้นมีประสิทธิภาพน้อยกว่าที่คนเราเข้าใจ และมีวิธีที่ดีกว่าที่ช่วยให้คุณใช้รหัสผ่านปกป้องไฟล์และไดรฟ์ให้ปลอดภัย

การปกป้องด้วยรหัสผ่านที่ไม่มีการเข้ารหัสข้อมูลทางกายภาพนั้นไร้ประโยชน์ เพราะเป็นวิธีการรักษาความปลอดภัยที่หลบเลี่ยงได้อย่างง่ายดาย เมื่อผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยพูดคุยกันเรื่องการปกป้องด้วยรหัสผ่าน พวกเขามักจะมองว่านี่เป็นวิธีเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น ปกติแล้ว ข้อมูลจะใช้วิธีการทางกายภาพเพื่อป้องกันการแฮ็กอยู่แล้ว ไม่ว่าด้วยการเข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์หรือเชิงฮาร์ดแวร์ก็ตาม

ในบทความนี้ เราจะมาสำรวจข้อแตกต่างระหว่างการปกป้องข้อมูลด้วยรหัสผ่านที่ใช้การเข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์กับการเข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์ เช่น USB หรือไดรฟ์ต่อพ่วงที่เข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์

การปกป้องข้อมูลด้วยรหัสผ่านแบบเข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์กับการปกป้องข้อมูลด้วยรหัสผ่านแบบเข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์มีความแตกต่างกันอย่างมาก การเข้ารหัสเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการปกป้องข้อมูลของผู้ใช้โดยอาศัยรหัสผ่าน แต่คำถามคือ ไดรฟ์ที่เข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์จะปกป้องข้อมูลส่วนตัวของคุณได้ดีกว่าไฟล์หรือไดรฟ์ที่เข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์หรือไม่ แล้ววิธีไหนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการปกป้องข้อมูล เช่น ข้อมูลทางบัญชีส่วนบุคคลในช่วงที่ต้องยื่นภาษี ไม่ให้ถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกแฮ็ก

ไฟล์ที่ปกป้องด้วยรหัสผ่าน

Kingston IronKey USB วางอยู่บนฉากหลังสีดำ

แอปพลิเคชันจำนวนมาก (เช่น MS Word, Excel, Adobe Acrobat ฯลฯ) มีทางเลือกให้ผู้ใช้สามารถสร้างไฟล์ที่ “ปกป้องด้วยรหัสผ่าน” โดยเข้ารหัสไฟล์ด้วยซอฟต์แวร์บางแบบเพื่อปกป้องข้อมูลในทางกายภาพ แต่บางครั้งก็ไม่ได้ระบุว่ามีการเข้ารหัสในระดับใด ดังนั้น ผู้ใช้จะไม่รู้เลยว่าแอปพลิเคชันใช้กลไกแบบไหนบ้างในการเข้ารหัสข้อมูลนอกเหนือไปจากการปกป้องด้วยรหัสผ่านที่เพิ่มเข้ามา นอกจากนี้ Windows เองก็มีบริการเข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์อย่าง BitLocker ที่สามารถเข้ารหัสไดรฟ์หรือไฟล์ในไดรฟ์คอมพิวเตอร์ได้ โดย BitLocker เวอร์ชันล่าสุดรองรับ Advanced Encryption Standard (AES) 256 บิตอันทันสมัยในโหมด XTS ซึ่งเป็นมาตรฐานที่คุณควรยึดถือ

BitLocker คือตัวอย่างหนึ่งของซอฟต์แวร์ที่ให้บริการเข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์ โดยจะเข้ารหัสข้อมูลและล็อกข้อมูลไว้หลังประตูที่มีรหัสผ่าน เมื่อมีการเข้ารหัสข้อมูล อัลกอริทึม (เช่น AES) จะเข้ารหัสข้อมูลไฟล์ในขณะที่เขียนลงไดรฟ์ และเมื่อผู้ใช้กรอกรหัสได้ถูกต้อง ระบบก็จะถอดรหัสข้อมูลในขณะที่อ่านจากไดรฟ์ นักพัฒนาชอบการเข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์เพราะมีต้นทุนต่ำ ไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์เฉพาะทาง และมีซอฟต์แวร์เข้ารหัสที่ขอซื้อสิทธิ์ใช้งานมาได้ง่าย ถ้าจำเป็น อย่างไรก็ตาม นอกจากข้อดีแล้ว การเข้ารหัสแบบนี้ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน หากแฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงหน่วยความจำที่จัดเก็บคีย์กู้คืนรหัสผ่านหรือการเข้ารหัสและคีย์กู้คืนไดรฟ์ได้ และได้รหัสผ่านของผู้ใช้ไปอยู่ในมือ ข้อดีของการเข้ารหัสก็จะไม่มีอีกต่อไป ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเข้ารหัสด้วยซอฟต์แวร์นั้นต้องใช้พลังในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ นั่นหมายความว่า หากผู้ใช้เปิดหรือปิดไฟล์ขนาดใหญ่ที่เข้ารหัสไว้ เช่น รูปภาพหรือวิดีโอ ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบได้

การเข้ารหัสด้วยซอฟต์แวร์อาจเหมาะกับผู้ใช้ที่ไม่ค่อยคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลมากนัก หรือมองว่าเป็นอะไรที่‘มีก็ดี’ ในกรณีเหล่านี้ เครื่องมือเข้ารหัสด้วยซอฟต์แวร์ที่ใช้ปกป้องไฟล์ด้วยรหัสผ่านก็ควรมีประสิทธิภาพมากพอที่จะปกป้องคอมพิวเตอร์ อีเมล หรือบัญชีคลาวด์ของคุณ อย่างไรก็ตาม การเข้ารหัสด้วยซอฟต์แวร์ไม่ได้ช่วยป้องกันการเดารหัสผ่านหรือที่เรียกว่าการโจมตีแบบ Brute Force หรือ Dictionary ซึ่งแฮ็กเกอร์จะใช้วิธีการตัดตัวเลือกที่ไม่น่าเป็นไปได้หรือใช้เครื่องมืออัตโนมัติในการถอดรหัสผ่าน แม้แต่ในอินเทอร์เน็ตก็มีเครื่องมือมากมายในการปลดล็อกรหัสผ่านไฟล์หลายประเภทหรือถอดรหัสข้อมูลในไฟล์เหล่านั้น ปัจจุบัน รหัสผ่านส่วนใหญ่จะยาวประมาณ 8 อักขระ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงจะเดารหัสผ่านได้กว่าหนึ่งพันล้านรหัสต่อวินาที นั่นหมายความว่าไฟล์ที่เข้ารหัสด้วยซอฟต์แวร์จะถูกปลดล็อกได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ควรเปลี่ยนไปใช้รหัสผ่านที่มีความยาวอย่างน้อย 12 อักขระแทน เพื่อชะลอความเร็วของแฮ็กเกอร์ในการเจาะไฟล์ที่เข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์

แนวทางที่ช่วยรับมือกับปัญหานี้คือใช้ USB และ SSD ต่อพ่วงที่เข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์มาปกป้องข้อมูลของคุณ อุปกรณ์ทั้งสองป้องกันการโจมตีแบบ Brute Force ได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการเข้ารหัสแบบ AES 256 บิตในโหมด XTS นอกจากนี้ คุณเองก็สามารถลดทอนพลังในการโจมตีแบบ Brute Force ได้เช่นกัน เพียงแค่ตั้งรหัสผ่านที่ยาวกว่า 12-16 อักขระ หรือใช้วลีรหัสผ่านที่ประกอบด้วยคำหลายคำ ซึ่งรวมกันแล้วยาวเกิน 12 อักขระ

การเข้ารหัสฮาร์ดแวร์

โน้ตบุ๊กที่เสียบไดรฟ์ USB หน้าจอกำลังเปิดหน้าต่างให้ป้อนรหัสผ่าน

การเข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์จะอาศัยขุมพลังจากไมโครโปรเซสเซอร์ที่มีความปลอดภัยแยกต่างหาก และมีไว้สำหรับตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้และเข้ารหัสข้อมูลโดยเฉพาะ ซึ่งต่างจากการเข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์ ดังนั้นจึงถือว่ามีความปลอดภัยมากกว่า เนื่องจากจะทำการประมวลผลแยกจากส่วนอื่นๆ ของคอมพิวเตอร์ ทำให้สกัดหรือโจมตียากขึ้นมาก การใช้หน่วยประมวลผลแยกกันแบบนี้ยังช่วยให้เข้ารหัสได้เร็วกว่ามากเนื่องจากอุปกรณ์ที่เข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทั้งหมดเอง

ไดรฟ์เข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์แพงกว่าไดรฟ์เข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์ เพราะใช้ส่วนประกอบขั้นสูงและเทคโนโลยีที่ซับซ้อนกว่า ทั้งยังออกแบบมาให้เป็นอุปกรณ์ปกป้องข้อมูลตั้งแต่เริ่มแรก (ไม่เหมือนกับไดรฟ์แบบไม่เข้ารหัส) ไดรฟ์ USB ทั่วไปเป็นแค่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบง่ายๆ ที่ไม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัย ในทางตรงกันข้าม ไดรฟ์เข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์นั้นพัฒนาขึ้นมาเพื่อปกป้องข้อมูล เปรียบเสมือนกรมธรรม์ประกันภัยที่คุ้มครองการโจรกรรมหรือข้อมูลสูญหาย

บริษัทที่ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบด้านความเป็นส่วนตัว (เช่น HIPAA, GDPR, CCPA) จะพบว่าค่าใช้จ่ายจากการละเมิดกฎหมายที่เกิดขึ้นเนื่องจากไดรฟ์ USD สูญหายหรือถูกขโมยนั้น สูงกว่าต้นทุนค่าไดรฟ์เข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์อย่างมหาศาล ในขณะที่ผลกระทบของการละเมิดข้อมูลทั่วโลกก็ยิ่งทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น และจำเป็นต้องใช้มาตรการคุ้มครองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ซึ่่งสุดท้ายแล้วก็คือราคาที่คุณจ่ายเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อนที่สุดนั่นเอง

ประโยชน์ของการเข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์

แม่กุญแจและลูกกุญแจบนโน้ตบุ๊ก สัญลักษณ์ของแม่กุญแจที่ล็อกอยู่และการเชื่อมต่อกับแผงวงจรวางซ้อนทับกัน

เราแนะนำให้คุณใช้การเข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์เพราะหลายสาเหตุ

  • โจมตียากกว่า: ไดรฟ์อย่างกลุ่มผลิตภัณฑ์ Kingston IronKey ออกแบบมาให้ทนต่อการโจมตีของแฮ็กเกอร์ ไม่เหมือนกับไดรฟ์ที่เข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์ ทั้งยังเสริมการปกป้องหลายชั้นที่ช่วยป้องกันการโจมตีอย่างการโจมตีรหัสผ่านด้วยวิธี Brute Force นอกจากนี้ยังสามารถนับจำนวนการกรอกรหัสผ่านทั้งหมด และจะลบข้อมูลแบบเข้ารหัสลับ (Crypto-erasing) ในไดรฟ์หากมีการกรอกรหัสผิดถึงจำนวนที่กำหนดไว้ อาชญากรทางไซเบอร์จึงมักจะมุ่งเป้าไปที่ไดรฟ์ที่เข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์ เพราะเจาะได้ง่ายกว่า
  • ทนทานทั้งในทางกายภาพและทางดิจิทัล: ไดรฟ์เข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์ที่มีการรักษาความปลอดภัยระดับการใช้งานทางทหารตามที่กำหนดโดยมาตรฐาน NIST FIPS 140-3 Level 3 ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกานั้นได้เพิ่มการปกป้องอีกชั้นหนึ่งและป้องกันการทุบทำลายได้เป็นอย่างดี โดยผนึกซีลอีพ็อกซีไว้รอบๆ ส่วนประกอบด้านในของไดรฟ์ ทำให้ทนทานต่อการถูกทุบทำลายมากขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์ IronKey D500S และ IronKey Keypad 200 Series ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ในระดับเดียวกัน โดยได้รับการรับรองมาตรฐาน FIPS 140-3 Level 3 (รอการรับรอง) และได้เติมอีพ็อกซีไว้ในปลอกหุ้มเพื่อเพิ่มการปกป้องอีกหลายๆ ชั้นให้กับไดรฟ์ กลไกการป้องกันเหล่านี้ รวมถึงการชัทดาวน์เมื่ออุณหภูมิหรือแรงดันไฟฟ้าสูงเกินไป การทดสอบตัวเองเพื่อตรวจจับความผิดปกติ และการชัทดาวน์หากได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นบวก ตลอดจนการทดสอบการแทรกซึมแบบอื่นๆ ล้วนเป็นข้อบังคับตามมาตรฐาน FIPS 140-3 Level 3 ทั้งสิ้น

    ไดรฟ์ที่ได้มาตรฐาน FIPS 140-3 Level 3 ต้องผ่านการตรวจสอบจากบุคคลภายนอกในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์อย่างเข้มงวดที่สุด โดยได้รับการตรวจสอบและทดสอบจากห้องปฏิบัติการที่ NIST รับรอง ทั้งนี้ NIST มีหน้าที่กำกับดูแลการเข้ารหัสแบบ AES 256 บิตรที่หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ เลือกใช้ การขอรับรองมาตรฐาน FIPS 140-3 Level 3 นั้นใช้เวลานานหลายปี และเป็นเครื่องหมายรับรองที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจ ในขณะเดียวกันก็เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์มีความทนทานต่อการโจมตีอย่างเยี่ยมยอด และช่วยในการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ
  • พกพาสะดวก: คุณอาจจะไม่สามารถพกพาเดสก์ท็อปหรือโน้ตบุ๊กไปไหนต่อไหนได้ตลอดเวลา แต่ USB และ SSD ต่อพ่วงที่เข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์พกพาติดตัวไปทุกที่ได้อย่างง่ายดาย คุณไม่ต้องเสี่ยงส่งอีเมลเอกสารทางการเงินไปให้นักบัญชีหรือทนายความ หรือจัดเก็บข้อมูลละเอียดอ่อนไว้ในระบบคลาวด์ แต่เก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้นอกเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและพกติดตัวได้อย่างปลอดภัย ตัวอย่างเช่น ไดรฟ์ต่อพ่วงอย่าง IronKey Vault Privacy 80ES ช่วยให้คุณสำรองข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตถึง 8TB ไปเก็บไว้ในสถานที่ที่คุณสามารถควบคุมดูแล
  • ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ: การเข้ารหัสข้อมูลเป็นข้อบังคับในหลายๆ บริบท ตัวอย่างเช่น HIPAA ในอุตสาหกรรมการรักษาพยาบาลของสหรัฐฯ GDPR ในสหภาพยุโรป และอื่นๆ อีกมากมาย ไดรฟ์ Kingston IronKey ช่วยในการปฏิบัติตามกฎหมาย เนื่องจากข้อมูลที่เก็บไว้ในไดรฟ์จะถูกเข้ารหัสเสมอ และการเข้าถึงไดรฟ์ต้องผ่านการตรวจสอบสิทธิ์ด้วยรหัสผ่าน/วลีรหัสผ่านที่ซับซ้อน (ไดรฟ์ Kingston IronKey โดยรองรับวลีรหัสผ่านยาวสูงสุด 64 อักขระ และ 128 อักขระสำหรับ D500S) นอกจากนี้ยังมีการป้องกันการโจมตีแบบ Brute Force ซึ่งป้องกันการแทรกแซง และหากมีการพยายามแฮ็กรหัสผ่าน ไดรฟ์ก็จะลบข้อมูลและรีเซ็ตให้เป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงานทันที

การกู้คืนข้อมูล


คนกำลังพิมพ์บนโน้ตบุ๊ก มีภาพโครงสร้างไฟล์วางซ้อนทับกัน

การกู้คืนข้อมูลเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งระหว่างการเข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์กับเชิงซอฟต์แวร์ Microsoft BitLocker มีคีย์กู้คืนที่สามารถพิมพ์หรือบันทึกไว้ใช้ในภายหลัง แต่สำหรับไดรฟ์ Kingston IronKey คุณสามารถเลือกใช้รหัสผ่านหลายชุด ซึ่งจะช่วยให้คุณยังเข้าถึงข้อมูลในไดรฟ์ได้ในกรณีที่ทำรหัสผ่านส่วนหนึ่งสูญหาย
ปัจจุบันการโจมตีด้วยไวรัสเรียกค่าไถ่พบเห็นได้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ

การสำรองข้อมูลเป็นประจำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกู้คืนข้อมูล และไม่ว่าคุณจะเลือกการเข้ารหัสแบบไหน เราแนะนำให้คุณใช้กลยุทธ์การสำรองข้อมูลแบบ 3-2-1 กล่าวคือ ให้ทำสำเนาข้อมูล 3 ชุดเก็บไว้ในสื่อหรือไดรฟ์เก็บข้อมูล 2 อัน เผื่อไว้ในกรณีที่ไดรฟ์อันใดอันหนึ่งเสียหรือใช้งานไม่ได้ และเก็บไดรฟ์อันหนึ่งไว้ในสถานที่อื่น หากต้องการสำรองข้อมูล VP80ES เป็นตัวเลือกที่ดีมาก โดยมีความจุให้เลือกหลายระดับ ตั้งแต่ 1TB ไปจนถึง 8TB ไดรฟ์ IronKey USB ส่วนใหญ่จะมีความจุไปจนถึง 512GB

บางคนนิยมสำรองข้อมูลบนคลาวด์ แต่ว่าวิธีนี้เสี่ยงต่อการถูกละเมิดข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์และปัญหาอื่นๆ ด้านความปลอดภัย จริงๆ แล้วการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ก็เหมือนกับการจัดเก็บข้อมูลของคุณไว้ในคอมพิวเตอร์ของคนอื่น หากเข้าถึงข้อมูลที่สำรองไว้ไม่ได้ในยามจำเป็น การกู้คืนข้อมูลและการทำกิจกรรมทางธุรกิจอาจจะล่าช้าได้ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า แม้แต่ผู้ให้บริการคลาวด์เองก็ถูกโจมตีจากไวรัสเรียกค่าไถ่ด้วยเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลได้ช้า
สำหรับไฟล์เอกสารสำคัญที่ได้รับ “การปกป้องด้วยรหัสผ่าน” อุปกรณ์ที่เข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์ให้การปกป้องที่ครอบคลุมกว่าอุปกรณ์แบบเข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์ แต่ว่าในที่สุดแล้ว การเลือกวิธีเข้ารหัสขึ้นอยู่กับว่าเอกสารของคุณมีค่าแค่ไหนและคุณต้องการการปกป้องในระดับใด

#KingstonIsWithYou #KingstonIronKey

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง