พนักงานของสำนักงาน 4 คนกำลังใช้อุปกรณ์หลายชนิด

ยกระดับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับธุรกิจขนาดเล็กด้วย Kingston Ironkey

แฮกเกอร์ไม่เพียงต้องการขโมยข้อมูลที่มีค่าจากบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB) ก็มีความเสี่ยงสูงที่กลายเป็นเหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์และการละเมิดข้อมูลเช่นกัน รายงานความพร้อมด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ Hiscoxt ประจำปี 2023 ชี้ให้เห็นว่า 41% ของธุรกิจขนาดเล็กตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทางไซเบอร์ในปี 2023 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตัวเลขที่รายงานในปี 2022 ถึง 38% และเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าหากเทียบกับปี 2021 ที่มีเพียง 22% นอกจากนี้ ธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกายังต้องจ่ายค่าไถ่กว่า 16,000 ดอลลาร์สหรัฐตลอดระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อนำไปรวมกับต้นทุนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ แล้ว จะเห็นได้ว่าการละเมิดข้อมูลส่งผลให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางต้องประสบปัญหาอย่างหนัก

ภัยคุกคามที่มีต่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง

พนักงานในสำนักงานนั่งอยู่หน้าจอแสดงผลสองจอโดยก้มศีรษะเอามือปิดหน้าด้วยความผิดหวัง บนหน้าจอแสดงข้อความ 'System Hacked’

การจะประสบความสำเร็จในโลกที่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรคโควิดนั้น ธุรกิจทั้งหลายจำเป็นต้องโอนไฟล์ที่ประกอบด้วยข้อมูลละเอียดอ่อนต่างๆ ผ่านทางระบบดิจิทัล อย่างเช่น หมายเลขประกันสังคม ข้อมูลธนาคารและบัตรเครดิต ที่อยู่อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ใบอนุญาตขับขี่ และที่อยู่บ้าน แต่สิ่งที่เป็นข้อมูลละเอียดอ่อนนั้นไม่ได้มีเพียงข้อมูลของลูกค้า เพราะองค์กรจะต้องจัดการข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเป็นการภายในเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบัญชีเงินเดือนของพนักงาน การจัดทำสัญญาและข้อตกลง ตลอดจนการจัดเก็บทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญอย่างยิ่งขององค์กร

ไม่ว่าจะกระบวนการเหล่านี้จะเล็กน้อยหรือเรียบง่ายตรงไปตรงมาแค่ไหน แต่หากมีบุคคลมุ่งร้ายเจาะเข้าสู่เครือข่ายภายใน รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลละเอียดอ่อนของลูกค้าหรือของพนักงานได้ ก็จะมีโอกาสที่จะเกิดการโจรกรรมตัวตน การฉ้อโกงทางการเงิน และอาชญากรรมอื่น ๆ ที่สร้างความเสียหายให้กับองค์กร

เมื่อเกิดการละเมิดเหล่านี้ขึ้น ธุรกิจจำเป็นจะต้องแจ้งเตือนให้ลูกค้าทราบว่าข้อมูลส่วนใดบ้างที่รั่วไหล ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องที่มีค่าใช้จ่ายตามมามากมาย ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีปัญหาด้านกฎหมายและการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกิดจากข้อบังคับว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูล เช่น ข้อกำหนดด้านการเปิดเผยข้อมูลเพื่อการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ SEC, HIPAA, CCPA, ระเบียบการคุ้มครองข้อมูลทั่วไปของสหภาพยุโรป (GDPR) และ NIS2 เป็นต้น

องค์กรขนาดใหญ่อาจจะลงทุนเม็ดเงินมหาศาลเพื่อบรรเทาความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยจัดตั้งและจัดการระบบคลาวด์ของบริษัทเพื่อปกป้องข้อมูลละเอียดอ่อน รวมทั้งช่วยให้พนักงานถ่ายโอนข้อมูลให้แก่กันได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกัน ลูกค้าก็คาดหวังว่าธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลางจะใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่รัดกุมเทียบเท่ากับองค์กรขนาดใหญ่ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ธุรกิจเหล่านี้มักจะเลือกวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดโดยการว่าจ้างผู้ให้บริการคลาวด์ภายนอกที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยของตัวเอง

ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางจะทำอย่างไรได้บ้าง

ในบางกรณี การใช้บริการคลาวด์อาจจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับธุรกิจ หากเลือกวิธีนี้ ธุรกิจจำเป็นจะต้องตรวจสอบและตั้งคำถามเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยของผู้ให้บริการคลาวด์ก่อนจะจ้างใช้บริการ นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าข้อมูลบนคลาวด์ได้รับการเข้ารหัสอย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการจัดเก็บและปกป้องคีย์การเข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์ไว้อย่างปลอดภัย

แม้ว่าคลาวด์จะเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับพื้นฐานที่สุดสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก แต่ก็มีช่องโหว่บางประการ

ประการแรกคือ ไม่ใช่ว่าข้อมูลบริษัททุกอย่างจำเป็นต้องจัดเก็บบนคลาวด์ ข้อมูลบางอย่างอาจจะมีค่ามากจนจำเป็นต้องจัดเก็บไว้ภายในเครือข่ายขององค์กร โดยตัดการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต อุตสาหกรรมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเรียกแนวทางแบบนี้ว่า “Air-gapped” ซึ่งหมายถึงการตัดข้อมูลออกจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

ประการที่สองคือ พนักงานมักจะเข้าสู่ระบบคลาวด์ระหว่างเดินทาง โดยเชื่อมต่อกับ Wi-Fi ของสนามบิน โรงแรม และร้านกาแฟ ซึ่งล้วนแต่เป็นสถานที่ที่บุคคลมุ่งร้ายมักจะหาทางแฮ็กคอมพิวเตอร์ ขโมยข้อมูล และโจมตีโดยใช้มัลแวร์และแรมซัมแวร์

สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากข้อมูลถูกขโมยก็คือความเสียหายทางการเงิน และอาจจะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางล้มลงได้ภายในข้ามคืน ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงดังกล่าว ธุรกิจจำเป็นจะต้องมีเทคโนโลยีมาปกป้องข้อมูลของตัวเอง

เมื่อพิจารณาจากความเสี่ยงเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าการจัดเก็บข้อมูลแบบ Air-gapped โดยใช้ไดรฟ์จัดเก็บข้อมูลที่มีการเข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์และสามารถควบคุมโดยพนักงาน รวมทั้งตัดขาดจากระบบอินเทอร์เน็ต เป็นการรักษาความปลอดภัยข้อมูลแบบเคลื่อนที่ที่รัดกุมที่สุด เพราะไดรฟ์เหล่านี้มีระบบรักษาความปลอดภัยในตัวและเปิดใช้งานตลอดเวลา รวมทั้งกำหนดให้มีการตรวจสอบสิทธิ์อย่างเหมาะสม ไม่เพียงเท่านั้นยังมีกลไกทำลายตัวเองเพื่อป้องกันการเดารหัสผ่านด้วย

ธุรกิจจำนวนมากหันมาจัดเก็บข้อมูลละเอียดอ่อนหรือทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในไดรฟ์ IronKey ไดรฟ์เหล่านี้พกพาง่าย ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางมักจะส่งมอบหรือจัดส่งให้กับลูกค้า พร้อมระบุคำแนะนำอย่างละเอียดในการเข้าถึงข้อมูลในไดรฟ์

ทำไมถึงต้องเป็น Kingston

Kingston คือผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายไดรฟ์ USB เข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์ IronKey และ SSD แบบต่อพ่วง, Vault Privacy 50 Series, Keypad 200, และ Vault Privacy 80 External SSD ชั้นนำของโลก ไดรฟ์แบบเข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์แบบ AES 256 บิต จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจวางใจได้ว่าข้อมูลที่จัดเก็บจะยังคงปลอดภัยจากการบุกรุกทางไซเบอร์ แม้ว่าไดรฟ์จะสูญหายหรือถูกขโมยก็ตาม

Kingston IronKey ออกแบบไดรฟ์แบบเข้ารหัสเชิงซอฟต์แวร์ให้เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลโดยไม่เพิ่มความซับซ้อนเกินจำเป็นให้กับขั้นตอนภายในที่มีอยู่เดิม แต่ในขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหายจนเป็นเหตุให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล

บริการนี้เป็นประโยชน์หรือไม่

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง